เลนส์พลาสติกของกล้องทอยกันน้ำ
ช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมาได้มีโอกาศเอากล้องกันน้ำออกไปเล่นน้ำด้วย
แต่เพิ่งได้เอาไปล้าง ^^ ก็เลยเอามาแบ่งปันกันดู
เลนส์ของกล้องกันน้ำนั้นเป็นพลาสติก
ซึ่งกล้องทอยสายเลือดแท้บริสุทธิ์เลนส์ก็ควรเป็นพลาสติกแบบนี้
พวกกล้องทอยเลนส์แก้วถือว่าเป็นพวกไม่บริสุทธ์
ตามเจ้าแห่งลัทธิเลนส์พลาสติกได้กล่าวเอาใว้ซักที่ ! (ว่าไปนั้น)
ทางยาวโฟกัสอยู่ที่ประมาณ
28 มม.
ช่องรับแสงคงจะอยู่ที่ f/5.6-7
ช่องรับแสงคงจะอยู่ที่ f/5.6-7
คงประมาณนี้
มีค่าเดียวปรับไม่ได้ด้วย
ชัตเตอร์กล้องทอยกันน้ำนั้นวางอยู่หลังเลนส์
เป็นแบบชัตเตอร์กิโยตินใช้สปริงเป็นตัวดีด
ความไวชัตเตอร์ปรับไม่ได้เหมือนกัน คงอยู่ที่ราวๆ 1/50 วินาที
ส่วนเลนส์นั้นเป็นแบบปรับเอาใว้ตายตัวปรับไม่ได้ หรือโฟกัสฟรี
ระยะหนึ่งเมตรไปจนสุดสายตาจะชัดหมด
Minolta Hi-Matic 7
กล้อง rangefinder Hi-Matic 7 - 1962
ผลิตในปี 1962 Minolta Hi-matic 7
ออกมาก่อนรุ่น 7s กล้อง 35 มม.
เลนส์ R0kkor-PF 45mm f1.8 ความเร็วชัตเตอร์ 1/500 1/4
เป็นกล้องที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากรุ่นก่อนของ Hi-matic/Ansco Autoset
ผลิตในปี 1962 Minolta Hi-matic 7
ออกมาก่อนรุ่น 7s กล้อง 35 มม.
เลนส์ R0kkor-PF 45mm f1.8 ความเร็วชัตเตอร์ 1/500 1/4
เป็นกล้องที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากรุ่นก่อนของ Hi-matic/Ansco Autoset
กล้องสามารถวัดแสงมองเห็นในช่องมองภาพ การวัดแสงใช้เซลล์แคดเมียมซัลไฟด์มาแทนที่ซีลีเนียมของเดิมซึ่งมีความไวกว่า
ต้องใช้แบตเตอรี่ปรอท 1.35V สมัยนี้หายากเพราะโรงงานเลิกผลิตไปแล้วเนื่องจากทำลายสิ่งแวดล้อม แต่สามารถใช้ LR626 1.55V แทนได้ข้อเสียคือวัดแสงก็จะไม่ค่อยตรงเท่าไหร่แต่พอเราใช้งานถ่ายไปเรื่อยๆก็จะคุ้นมือไปเอง กล้องยังสามารถนำมาใช้งานได้โดยไม่ต้องใช้ถ่านอีกด้วย
สำหรับกล้อง Hi-Matic 7 เป็นพื้นฐานสำหรับรุ่นต่อมา 7s, 9 และ 11
Produced 1962 Minolta Camera Co.,Japan
Type: Rangefinder Camera
Manufacturer: Minolta
Films: 35mm films
Lens: 1:1,8 f=45mm Rokkor
Metering: Cds meter, EV 5.7 -EV 17
Modes NC Auto / MM
Shutter Speeds B 1/4 1/8 1/5 1/30 1/60 125 1/250 1/500
Produced 1962 Minolta Camera Co.,Japan
Type: Rangefinder Camera
Manufacturer: Minolta
Films: 35mm films
Lens: 1:1,8 f=45mm Rokkor
Metering: Cds meter, EV 5.7 -EV 17
Modes NC Auto / MM
Shutter Speeds B 1/4 1/8 1/5 1/30 1/60 125 1/250 1/500
กล้องทอยกันน้ำ
กล้องทอยกันน้ำ
กล้องกันน้ำที่มาพร้อมกับกรอบกันน้ำพลาสติกใส
ตัวกล้องนั้นทำมาจากกล้องพลาสติก เลนส์ก็ทำมาจากพลาสติกด้วย
ด้วยที่มีกรอบกันน้ำมาป้องกันน้ำเข้าไปในกล้อง ทำให้ถ่ายใต้น้ำ
ตัวกล้องนั้นทำมาจากกล้องพลาสติก เลนส์ก็ทำมาจากพลาสติกด้วย
ได้ลึกประมาณ 1-2 เมตร ดำลึกกว่านั้นน้ำอาจซึมเข้ากล้องได้
ส่วนกรอบกันน้ำจะมียางอยู่เพื่อปกป้องกล้องจากน้ำที่จะเข้าไป
ในกล้องของเราแต่ว่ายางที่มาพร้อมกับกรอบกันน้ำนั้นสามารถเสื่อม
คุณภาพได้เช่นกัน ใช้เสร็จควรเช็ดทำความสะอาดทุกครั้งนะครับ
ในกล้องของเราแต่ว่ายางที่มาพร้อมกับกรอบกันน้ำนั้นสามารถเสื่อม
คุณภาพได้เช่นกัน ใช้เสร็จควรเช็ดทำความสะอาดทุกครั้งนะครับ
กล้องกันน้ำใช้ฟิล์ม 35mm. หรือฟิล์ม 135 มีขายตามร้านทั่วไปครับ
อธิบายเรื่องฟิล์ม 135 เป็นชื่อฟอร์แมท
ส่วน35มม.เป็นความกว้างของฟิล์ม
ส่วน35มม.เป็นความกว้างของฟิล์ม
แต่ก่อนมีฟิล์มหลายตัวที่มีความกว้าง35มม.
ดังนั้นถ้าไม่เรียกด้วยชื่อฟอร์แมทจะไม่เข้ากับกล้องที่เราใช้งาน
แต่ปัจจุบันนี้เหลือฟิล์มถ่ายรูปขนาด35มม.
อยู่ตัวเดียวเท่านั้นที่ยังผลิตขายอยู่
คือ 135 ดังนั้นเราเลยเรียกได้ทั้ง2แบบ ไม่ต้องกลัวเข้าใจผิด
ดังนั้นถ้าไม่เรียกด้วยชื่อฟอร์แมทจะไม่เข้ากับกล้องที่เราใช้งาน
แต่ปัจจุบันนี้เหลือฟิล์มถ่ายรูปขนาด35มม.
อยู่ตัวเดียวเท่านั้นที่ยังผลิตขายอยู่
คือ 135 ดังนั้นเราเลยเรียกได้ทั้ง2แบบ ไม่ต้องกลัวเข้าใจผิด
กฏซันนี่ 16 Sunny 16
Sunny 16
กฏซันนี่ 16 ก็คือเราจะถ่ายภาพกล้างแจ้ง ช่วงเวลาระหว่าง 9 โมงเช้าถึงบ่าย 3 โมงเย็น การถ่ายภาพไม่จำเป็นต้องวัดแสงจากตัวกล้องเลย เรายังไม่ต้องกลัวว่าสิ่งที่จะถ่ายภาพมีโทนสว่างหรือโทนมืด ใช้กฏซันนี่ 16 ก็สามารถถ่ายภาพให้ได้ภาพที่ออกมาพอดีๆได้ สาเหตุที่ได้ภาพสว่างพอดีเนื่องจากปริมาณแสงของดวงอาทิตย์คงที่เท่ากันทุกวันนั้นเอง
กฏซันนี่ 16 คือ ใช้โหมดบันทึกภาพแมนนวล
สิ่งที่ต้องรู้สองอย่างคือ
-ชัตเตอร์สปีดค่า ISO film และ ขนาดของรูรับแสง( f )
เช่น เรามีฟิล์ม ISO 200 เราก็ตั้งค่าชัตเตอร์สปีดที่1/200 วินาที
ตั้งค่ารูรับแสงอยู่ที่ 16 ถ่ายกลางแจ้งที่มีแสงแดดเต็มที่
f/11 ฟ้าปิดมีแสงอยู่บ้าง
f/8 ฟ้าปิดมีเมฆ
f/5.6 ฟ้าปิด
f/4 ช่วงที่พระอาทิตย์ตก หรือในร่ม
-ชัตเตอร์สปีดค่า ISO film และ ขนาดของรูรับแสง( f )
เช่น เรามีฟิล์ม ISO 200 เราก็ตั้งค่าชัตเตอร์สปีดที่1/200 วินาที
ตั้งค่ารูรับแสงอยู่ที่ 16 ถ่ายกลางแจ้งที่มีแสงแดดเต็มที่
f/11 ฟ้าปิดมีแสงอยู่บ้าง
f/8 ฟ้าปิดมีเมฆ
f/5.6 ฟ้าปิด
f/4 ช่วงที่พระอาทิตย์ตก หรือในร่ม
การปรับความไวซัตเตอร์ให้เร็วขึ้นกี่ STOP ก็ต้องเปิดรูรับแสงให้กว้างขึ้นเท่านั้น เช่น ตั้ง ชัตเตอร์สปีดที่1/125 วินาที รูรับแสงที่ F/16 เปลี่ยนชัตเตอร์สปีดเป็น 1/1000 (เร็วขึ้น 3 STOPS) ก็ต้องปรับรูรับแสงเป็น F/5.6 (กว้างขึ้น 3 STOPS) หรือจะปรับ ISO หรือ ISO+รูรับแสงเพิ่ม 3 STOPS ก็สามารถทำได้
ขอให้สนุกกับการถ่ายภาพครับ
Olympus PEN EED
Olympus PEN EED กล้อง half-frame จากค่าย Olympus
เลนส์รุ่น 32mm. Olympus F.Zuiko 1:1.7 Lens เป็นรุ่นที่รูรับแสงกว้างที่สุดของ PEN EE การใช้งานที่ง่าย น้ำหนักเบา ถ่ายได้ถึง 72 รูป ใช้ฟิล์ม 135
การใช้งานOlympus PEN EED
มีปุ่มที่จะต้องปรับสองสามอย่างก็คือ
คือ ISO อยู่ด้านหน้าของเราตั้งตามขนาดของฟิล์ม หนึ่งร้อง สองร้อยอาจจะเพิ่มลูกเล่นได้บ้างคือฟิล์มเราหนึ่งร้อยเราอาจจะบวกเพิ่มเป็นสองร้อยจะทำให้ภาพดูเข้มขึ้นอันเดอร์ขึ้นนิดหน่อยการปรับ ISO ต่ำกว่าฟิล์มจะทำให้ภาพออกมาโทนขาวจะทำให้ภาพออกมาไม่ค่อยสวยเท่าไหร่ แต่ก็น่าลองปรับเล่นกันดู
โหมดการใช้งาน จะเห็น AUTO สีแดงอยู่ด้านหน้าเลนส์ การตั้งออโต้คือถ่ายได้เกือบทุกสภาพแสง ถ้าสภาพแสงไม่พอกล้องจะกดไม่ลงล๊อกอัตโนมัต แต่เมื่อแสงไม่พอแต่เราต้องการถ่ายเราสามารถปรับมาที่โหมดซึ่งเป็นตัวเลขซึ่งหมวดนี้จะเป็นแมนนวลโดยรูรับแสงจะปรับได้ตามที่เราเลือก
โหมดนี้แนะนำให้ใช้เฟรช ส่วนมากจะถ่ายในตอนกลางคืนหรือในที่ร่มที่แสงมืดๆแสงไม่พอครึ้มๆ ถ้าออโต้ถ่ายได้ทั้งหมดหรือในห้องที่มีแสงสว่าง
โดยรวมถือว่าเป็นกล้องที่มีขนาดเล็กและเบาพกพาสะดวก เดินๆอยู่เจอจังหวะที่ต้องการจะถ่ายเราก็ยกกล้องแล้วกดได้เลย
Ricoh Ricohflex New Diamond
เราจะมาดูกล้องทวินเลนส์ Ricohflex New Diamond
ผลิตในประเทศญี่ปุ่น ปี 1956 การทำงานจะทำงานจะคล้ายๆยาชิก้า คือช่องมองเปิดได้ มีแว่นขยาย มีตัวโฟกัสอยู่ข้างๆการมองขยับซ้ายขวามันจะตรงข้ามกับที่เราเห็นแต่ใช้ๆไปก็ชินโฟกัสจะไม่ค่อยยากเพราะช่องมองใหญ่หรือใช้แว่นขยายที่ติดมากับกล้องด้วยก็ได้
สวนด้านที่ติดกับตัวโฟกัสจะเป็นปุ่มเลื่อนฟิล์มหนึ่งสองศูนย์ ส่วนอีกด้านเป็นตัวประคองฟิล์มสองปุ่ม
cowcamera
ผลิตในประเทศญี่ปุ่น ปี 1956 การทำงานจะทำงานจะคล้ายๆยาชิก้า คือช่องมองเปิดได้ มีแว่นขยาย มีตัวโฟกัสอยู่ข้างๆการมองขยับซ้ายขวามันจะตรงข้ามกับที่เราเห็นแต่ใช้ๆไปก็ชินโฟกัสจะไม่ค่อยยากเพราะช่องมองใหญ่หรือใช้แว่นขยายที่ติดมากับกล้องด้วยก็ได้
สวนด้านที่ติดกับตัวโฟกัสจะเป็นปุ่มเลื่อนฟิล์มหนึ่งสองศูนย์ ส่วนอีกด้านเป็นตัวประคองฟิล์มสองปุ่ม
เลนส์ 80mm f1: 3.5 ด้านหน้าขวามือมีปุ่มเล็กๆสามารถเปลี่ยน
สปีดชัตเตอร์จะมีหน้าต่างเล็กๆอยู่ด้านบนมองเข้าไปเห็นตัวเลขเวลาเราหมุน ด้านซ้ายมือก็จะเป็นปุ่มให้ปรับรูรับแสง ชัตเตอร์จะอยู่ด้านล่างสุด ก่อนถ่ายเราจะต้องโยกขึ้นไกก่อนแล้วค่อยกดถ่ายไกก็จะอยู่ฝั่งเดียวกันกับปุ่มสปีดชัตเตอร์
สปีดชัตเตอร์จะมีหน้าต่างเล็กๆอยู่ด้านบนมองเข้าไปเห็นตัวเลขเวลาเราหมุน ด้านซ้ายมือก็จะเป็นปุ่มให้ปรับรูรับแสง ชัตเตอร์จะอยู่ด้านล่างสุด ก่อนถ่ายเราจะต้องโยกขึ้นไกก่อนแล้วค่อยกดถ่ายไกก็จะอยู่ฝั่งเดียวกันกับปุ่มสปีดชัตเตอร์
ตัวประคองฟิล์ม
กล้องสามารถถ่ายภาพซ้อนได้ ด้านหลังการเปิดใส่ฟิล์มต้องปลดล็อกหมุนด้านล้างไปทางด้านสีแดงเปิดฝาขึ้นแล้วใส่ฟิล์ม
การใช้งานไม่ได้ยากอะไรแรกๆเราอาจจะไม่คุ้นแต่พอใช้ไปเรื่อยๆก็จะคุ้นเอง
Yashicaflex Model A
มาแนะนำกล้องทวินเลนส์ Yashicaflex Model A กล้องใช้ฟิล์ม120 ถ่ายภาพหกคูณหกได้สิบสองรูป
กล้องทวินเลนส์หรือกล้องทีแอลอาร์คือคำย่อมาจากทวินเลนส์
รีเฟลกกล้องสะท้อนเลนส์คู่ เลนส์บนใช้สำหรับมองสะท้อนผ่านช่องมองด้านบน ส่วนเลนส์ล่างคือเลนส์ที่เราใช้ถ่ายภาพจริง เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราเห็นด้านบนคือภาพที่จะได้แต่ไม่ใช่ภาพจริงแต่ใกล้เคียงกันมาก
ช่องมองเราสามรถเปิดขึ้นโดยการยกขึ้น ข้างในเราจะเห็นเป็นสกีนรับภาพสะท้อนจากเลนส์บน การโฟกัสก็จะมีปุ่มโฟกัสทางด้านขวามือสังเกตุว่าหน้าของกล้องจะเลื่อนเข้าเลื่อนออกได้ โฟกัสแบบเมนวล
ถ้าเกิดต้องการความคมชัดระเอียดๆเราสามารถดันตัวแว่นขยายออกมามองภาพ ด้านริมขวามีปุ่มโฟกัส อีกปุ่มจะเป็นปุ่มเลื่อนฟิล์มหนึ่งสองศูนย์ด้านหน้ารูรับแสงจะปรับเลื่อนได้ด้านขวามือ สปีดซัตเตอร์จะหมุนได้รอบๆเลนส์มีหน้าตัวเลขบอกกำกับ ทุกครั้งที่จะถ่ายมีการขึ้นไกลด้านข้างซ้ายมือนิดหนึ่งแล้วก็กดถ่ายสามารถถ่ายภาพซ้อนได้
ส่วนด้านล่างเวลาเราหมุ่นสังเกตเหล็กจะยื่นออกมาเพื่อเปิดให้เราได้ใส่ฟิล์มเข้าไป พอเราหมุนฝาจะเปิดออกเราก็ใส่ฟิล์ม 120 เพื่อที่จะเริ่มถ่าย
ขอให้สนุกกับการถ่ายภาพครับ
สมัครสมาชิก:
บทความ
(
Atom
)